วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เคมีภัณฑ์เกี่ยวกับวัสดุประสานและกาวชนิดต่างๆ

เคมีภัณฑ์ต่างๆ Chemical construction
แล้วก็ได้เวลาเริ่มต้นกันแล้วครับ หลังจากที่ผมมัวแต่คุยไม่ได้สาระเท่าไร 555 แต่ก่อนที่จะอ่านบทความของผมใครที่ยังไม่ได้อ่านในส่วนของ คอลัมน์ รู้จักกับ hometakecare กันหน่อย และ ก่อนจะริเป็นช่าง ผมอยากให้ไปอ่านก่อนครับ เพื่อที่จะได้เข้าใจและมองเนื้อหาของ blog ไปในทิศทางเดียวกับผู้เขียนครับเรามาเริ่มกันเลยนะครับในส่วนของ HARDWARE และเคมีภัณฑ์หลักๆจะประกอบด้วย 1.วัสดุประสานและกาวทั่วไป 2. Construction Chemicals หรือ เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง ทางผมจะขอแนะนำเฉพาะที่เกี่ยวกับงาน Home Improvement ในรูปแบบ D.I.Y. ที่ซ่อมแซมงานด้วยตัวเองได้เป็นส่วนใหญ่ก่อนซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เพื่อนๆพี่ๆ ทุกท่าน สำหรับงาน CONSTRUCTION สำหรับช่างผมจะพูดบ้างเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ และวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างที่ผมพูดทุกๆท่านจะสามารถหาซื้อได้ตามห้างค้าปลีกเกี่ยวกับบ้านได้ครับ

1 .วัสดุประสาน : ในงาน D.I.Y. จะประกอบด้วย กาวชนิดต่างๆแต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ กาวยางสังเคราะห์ ซึ่งให้แรงยึดติดสูง เแห้งสนิทประมาณ 1 วัน รับน้ำหนักได้ประมาณ 40 กก.ต่อตารางนิ้วครับ ไม่รู้บางท่านจะเคยได้ยินชื่อ กาวตะปู หรือ liquid nailsไหมครับ จริงๆ กาวแบบนี้มีมานานแล้วนะครับ ให้แรงยึดติดสูงครับ นิยมใช้ติดบัวฝ้า บัวพื้น ต่างๆ แทนการใช้ตะปูครับ จุดประสงค์หลัก ที่แนะนำให้ใช้เลยก็เพื่อความสวยงามครับเนื่องจากจะทำให้ชิ้นงานไม่เห็นหัวตะปูครับและสามารถใช้ได้กับผนังปูนด้วยครับ แต่ถ้าช่างรับเหมาจะไม่นิยมใช้ครับเนื่องจากจะทำให้ต้นทุนสูงและกำไรที่ได้ก็จะน้อยลงครับ ถ้าใครเป็นช่างรับเหมาได้อ่านบทความผมช่วงแรกๆ ก็อย่าเพิ่งโกรธนะครับ ตอนนี้ขอเอาใจผู้บริโภคก่อน แต่สัญญาครับว่าตอนหลังจะเขียนบทความเกี่ยวกับ ช่างและผู้รับเหมาให้ครับ เรามาต่อกันที่ กาวอีพ็อกซี (epoxy) ต่อเลยนะครับ กาวอีพ็อกซี (epoxy) เป็นกาวที่ต้องใช้ 2 ส่วนผสมกัน ส่วนผสม2ส่วนนี้จะประกอบด้วย เรซิ่น 1 ส่วน และ hardener 1ส่วนครับ ในส่วนของ hardener จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งแข็งให้กับเรซิ่นครับ ในอัตรา1:1 แห้งเร็วภายใน 5 นาทีจนถึง 24 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับวัสดุและการรับน้ำหนัก เมื่อแห้งแล้วจะแข็งแรงมาก ภาษาช่างเรียกว่า กาว 2 ตัน และจะมีกาวอีกชนิดหนึ่งที่ให้แรงยึดสูงเหมือนกัน เราเรียกว่า กาวดินน้ำมัน ครับ ลักษณะการใช้งานคือ ให้เรานำกาวซึ่งมีลักษณะเหมือนกับดินน้ำมันปั้นจนเปลี่ยนสีครับ (สินค้าแต่ละ brand จะบอกว่าต้องปั้นจนเปลี่ยนเป็นสีอะไรนั่นแล้วแต่สินค้านะครับ ) เมื่อเราปั้นจนเปลี่ยนสีแล้วจะสามารถใช้งานได้เลยครับ แต่สำหรับกาวพวกนี้เวลาแห้งจะมีแรงยึดติดสูงครับ แต่ผมแนะนำว่าถ้าต้องรับน้ำหนักมากควรจะทิ้งไว้ให้แห้งก่อนการใช้งาน 24 ชม. ครับ แถบกาวอลูมีเนียม เป็นอลูมิเนียมฟอยล์ ( aluminium foils ) ใช้ซ่อมแซมหรือปิดรอยรั่วรางน้ำ รางอลูมิเนียมและใช้เชื่อมต่อฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันความร้อนรั่วไหลตามรอยต่อครับ ในส่วนนี้ท่านใดจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนแต่ไม่มีทุนทรัพย์มากนักที่จะซื้อเทปกาวอลูมิเนียม ผมแนะนำให้ใช้เป็นเทปใสม้วนใหญ่ก็ได้ครับ เพราะว่าความร้อนที่มันรั่วไหลลงมาเนี่ยมันไม่ได้มากมายอะไรหรอกครับ เพราะลำพังเราซื้อฉนวนกันความร้อนดีๆหน่อยเนี่ย ก็หมดไปเป็นหมื่นแล้วครับ แล้วยังต้องมาเสียเงืนหลักพันกับเทปอีกบางทีผมคิดว่ามันก็น่าเสียดายเหมือนกันนะครับ แต่สำหรับท่านที่มีกำลังทรัพย์พอก็ใช้ไปเถอะครับเพราะเงินแค่นี้ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอกครับ 555 เทปกาวยางมะตอย ( bitumain tapes )ใช้ซ่อมแซมรอยรั่วต่างๆเช่นหลังคา กันสาด ระเบียง ตามรอยต่อต่าง คุณสมบัติกันน้ำแต่ไม่สามารถแช่น้ำได้ครับ ถ้าพื้นที่บริเวณนั้นมีน้ำขังมันจะล่อนออกเลยนะครับ ถ้าไม่รู้ว่าร่อนยังไงต้องไปดูน้องโคโยตี้น่ะครับ น้องเค้าร่อนยังไงเจ้าเทปกาวยางมะตอยก็ร่อนแบบนั้นเลยแหละครับ อิอิ จริงในส่วนของวัสดุประสานเนี่ย ถ้าคุยกันจริงทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเนี่ย 7 วันก็ไม่จบหรอกครับ ยกตัวอย่างนะครับ ทุกท่านคงรุ้จักเทปใสใช่มั้ยครับ เคยสังเกตมั้ยครับว่าทำไม่มันมีทั้งที่ออกสีเหลืองๆ และก็แบบใสๆน่ะครับ จริงๆมันต่างกันน่ะครับ ตรงที่แบบสีเหลืองเนี่ยใช้กาวยางทำครับ ส่วนแบบใสเนี่ยจะใช้กาวอะครีลิคครับ มันจึงมีแรงยึดติดได้นานกว่าครับ หรือเวลาที่ใช้เทปพันสายไฟ มีใครบ้างไหมครับดึงให้ยืด 3-4 ส่วนก่อนใช้น่ะครับ หรือแม้แต่กาวร้อนที่ชอบเรียกว่ากาวตราช้างน่ะครับ สงสัยมั้ยครับว่าทำไม่แต่ละยี่ห้อมันถึงติดแน่นไม่เหมือนกันครับ คือมันเกี่ยวกับสารเคมีที่ชื่อว่า ไซยาโนอะครีเลต ภาษาอังกฤษน่าจะเขียนแบบนี้ครับ ciyanoacrylate (อาจจะมีผิดพลาดนิดหน่อยนะครับ ) มันเป็นสารเคมีในตัวสินค้าน่ะครับ ถ้ามีมากก็จะแน่นและแห้งเร็วครับ ลองอ่านหลังแพคเกจสินค้าดูก็ได้ครับผมคิดว่ามีทุกยี่ห้อและคงยังไม่เปลี่ยนไปใช้ตัวอื่นหรอกครับ หลังจากที่เรารู้ว่ารายละเอียดมันเยอะขนาดนี้ผมก็จะขอไปต่อที่ Construction Chemicals หรือ เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
เลยนะครับ

1 ความคิดเห็น:

shankar107 กล่าวว่า...

U Shape Kitchen Design

it is a good to read such blog very useful