บทความที่ 5 แล้วนะครับ กับ Hometakecare แต่เพิ่งจะอยู่ในขั้นตอนที่ 2 ของ บท เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
( Construction Chemicals ) เท่านั้นเองครับ แต่เหมือนเดิมนะครับ คือ ก่อนที่จะอ่านบทความของผมใครที่ยังไม่ได้อ่านในส่วนของ คอลัมน์ รู้จักกับ hometakecare กันหน่อย และ ก่อนจะริเป็นช่าง ผมอยากให้ไปอ่านก่อนครับ เพื่อที่จะได้เข้าใจและมองเนื้อหาของ blog ไปในทิศทางเดียวกับผู้เขียนครับ ในส่วนของ งานพื้นและงานปกป้องพื้นผิว ส่วนนี้ผมจะขอพูดถึงวัสดุ หลักๆ 3ชนิด ได้แก่ 1. ปูนทรายเทปรับระดับด้วยตัวเอง 2. น้ำยาเคลือบผิวเพื่อป้องกันคราบสกปรก 3. น้ำยาเคลือบผิวแกร่ง
1.ปูนทรายเ ทปรับระดับด้วยตัวเอง จะใช้งานเวลาที่ต้องการปรับระดับพื้นให้ได้ระดับก่อนการปูทับด้วยวัสดุปูพื้นทั่วไป ท่านที่มีปัญหาพื้นไม่ได้ระดับ ก่อนการปูพื้นไม่ว่าจะเป็น พรม กระเบื้องยาง ปาร์เก้ ไม้พื้นลามิเนต แนะนำให้ใช้วัสดุตัวนี้เลยครับ เพราะว่าใช้งานง่ายและประหยัดเวลาในการทำงานครับ บางท่านอาจจะสงสัยว่าแล้วปูนมันปรับระดับด้วยตัวเองได้ยังไง คือปูนประเภทนี้อนุภาคจะเล็กครับอยู่ที่ประมาณ 0 – 4 มม. แล้วแต่เกรดของวัสดุนะครับ คือถ้าอนุภาคน้อยก็จะทำให้ระดับที่ปรับลดน้อยลงไปด้วยครับ โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 3-20 มม.ครับ คือหลังจากที่เราเทปูนปรับระดับลงบนพื้นผิวที่เราต้องการแล้วก็ให้ปาดด้วยไม้สามเหลี่ยมให้ได้ระดับครับ หลังจากที่ปรับระดับแล้วไม่ควรทำอะไรกับผิวหน้าปูนอีก แล้วปูนจะให้ผิวเรียบโดยไม่ต้องขัดมันครับ ผมจะขอพูดเพิ่มเติมในส่วนของคำแนะนำอีกหน่อยนะครับ คือพื้นคอนกรีตใหม่ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 28 วันครับ ให้ปูนคลายความเป็นด่างก่อน และพื้นผิวต้องแข็งแรงปราศจากฝุ่น รอยแตกร้าวและถ้าจะให้ดีผมแนะนำว่าควรจะใช้น้ำยาทารองพื้นสำหรับปูนปรับระดับด้วยนะครับ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวเก่ากับปูนที่เทใหม่ ลดปัญหาการหลุดล่อน นอกจากนั้นยังช่วยลดปัญหาฟองอากาศบนผิวหน้าของปูนที่เท ซึ่งเกิดจากการลอยตัวของอากาศที่กักอยู่ในพื้นผิวด้วยครับ
2. น้ำยาเคลือบผิวเพื่อป้องกันคราบสกปรก เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการปกป้องพื้นผิวบริเวณที่ต้องเผชิญกับความสกปรก คราบน้ำ น้ำมัน เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ลานจอดรถ ระเบียง ทางเดิน ชึ่งน้ำยาเคลือบผิวจะเป็นน้ำยาที่สามารถใช้งานได้เลยครับโดยไม่จำเป็นต้องผสมน้ำครับ เล่นกันเพียวๆไปเลยครับ โดยใช้แปรงหรือลูกกลิ้ง ทาลงบนพื้นผิวที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยลดการดูดซับน้ำและน้ำมันของพื้นผิวนั้นๆครับ ทำให้ปกป้องการเกิดคราบ และทนทานต่อภาวะแสงแดด สามารถใช้ได้ทั้งงานพื้นและงานผนัง ทั้งภายในและภายนอก เหมาะสมกับพื้นผิวที่มีความพรุน สามารถดูดซับน้ำได้ เช่น หิน บล็อกปูถนน พื้นทางเดิน หินจริง หินเทียม ปูนฉาบ ผิวคอนกรีต ทรายล้าง กระเบื้องดินเผา เดี๋ยวผมจะพูดถึงคำแนะนำและข้อควรระวังเลยนะครับ คือก่อนการทาพื้นผิวจะต้องแห้งสนิทนะครับ ประมาณว่าถ้าหลังฝนตกก็ต้องทิ้งให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมงและต้องสะอาดปราศจากฝุ่นครับและเวลาทาน้ำยาประเภทนี้อาจทำให้พื้นผิวดูด้านขึ้นเล็กน้อยนะครับ เพราะฉะนั้นให้ทดสอบบนพื้นที่เล็กๆก่อนทำงานจริงนะครับ
3. น้ำยาเคลือบผิวแกร่ง เป็นน้ำยาที่ใช้ทาลงบนพื้นผิวของคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง และลดการเกิดฝุ่นหรือขุยบนพื้นผิว ช่วยลดการเสื่อมสภาพของคอนกรีตครับ แต่จะสามาถใช้กับพื้นผิวที่ดูดซับน้ำเท่านั้นนะครับ การใช้งานก็ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาน้ำยาลงบนพื้นผิวครับ และส่วนผสมในการทาแต่ละยี่ห้ออาจไม่เหมือนกันครับ ผมจะพูดถึงข้อแนะนำและข้อควรระวังเลยนะครับ ก่อนการทาพื้นผิวต้องสะอาดปราศจากฝุ่น และเศษสิ่งสกปรก ไม่ควรทำงานกลางแดดจัด หรือทำงานบนพื้นผิวที่ร้อน และก็ห้ามทำงานขณะฝนตกหรือพื้นที่เปียกชื้น ที่สำคัญควรสวมถุงมือและแว่นตาขณะทำงานด้วยครับ อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝากไว้เกี่ยวกับอัตราการใช้งานของน้ำยาเคลือบผิวเพื่อป้องกันคราบสกปรก และน้ำยาเคลือบผิวแกร่ง คือ อัตราการใช้งานในการอาจจะไม่เท่ากันครับ เช่น หากว่าทาลงบนแกรนิต อาจทาได้ 20-25 ตรม.ต่อ 1 ลิตร แต่เมื่อทาลงบนคอนกรีต อาจจะทาได้เพียง 8-10 ตรม. ต่อ 1 ลิตรเท่านั้นครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพรุนของพื้นผิวหรือความสามารถในการซึมซับน้ำของพื้นผิวครับ แล้วเราก็จบจนได้นะครับสำหรับ หัวข้อที่ 2 ของเคมีภัณฑ์ก่อสร้าง ( Chemical construction ) ตอนจบก็เหมือนเดิมนะครับคือ หากข้อมูลตรงไหนไม่ละเอียดพอก็ฝากความคิดเห็นไว้ได้ครับ หรือว่ามีอะไรที่อยากแนะนำก็ฝากไว้แล้วกันนะครับ แล้วคราวหน้าเรามาพบกับ หัวข้อที่ 3 คือ งานซ่อมแซมและงานเกราท์ กันต่อเลยนะครับ
YORK CAT2SC ยอร์ค แคททูเอสซี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น